http://www.musiclandpiano.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

สินค้า

บทความ

 ถาม-ตอบ

หน้าติดต่อเรา

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อการเรียนดนตรีของลูก

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อการเรียนดนตรีของลูก

                                                                           

            การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ผู้เรียนดนตรีโดยทั่วไปแล้วจะอยู่ในวัยเรียน อายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5-17 ปี เป็นวัยที่ยังอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง ผู้ปกครองเป็นผู้มีอิทธิพลทางสังคมต่อเด็กทุกคนในวัยนี้ (Adeyemo, 1998) การเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นเหมือนตัวเชื่อมโยงที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครองและผู้ปกครองกับครูและโรงเรียน การที่ผู้ปกครองเข้าไปมีส่วนร่วมส่งเสริมและลงทุนให้ลูกเรียนดนตรีถือเป็นความรับผิดชอบของครอบครัว
 
            ดนตรีถือเป็นพลัง อันดับแรกที่ลูกได้รับการสัมผัสจากพ่อแม่เป็นครั้งแรกในชีวิต (American Music Conference , 2007) ได้มีงานวิจัย สนับสนุนว่า ครอบครัวที่มีส่วนสนับสนุนในกิจกรรมของลูกที่บ้านและที่โรงเรียน ลูกจะมีโอกาส เข้าร่วมทำ กิจกรรมที่ โรงเรียนบ่อยครั้ง จะส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น และผู้เรียนมีการหยุดเรียน กลางคันลดลง (Asmus, 2005; Ford & Amaral, 2006)

            ได้มีการให้ความหมายของการมีส่วนร่วม เช่น Cotton, (2001) หมายถึง สิ่งที่ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในบทบาท หน้าที่ ที่โรงเรียนได้ทำและช่วยให้นักเรียน มีผลการเรียนสูงขึ้น Ford และ Amaral (2006) คือสิ่งที่ดำรง อยู่และมีการ กระทำอย่างต่อเนื่องของกิจกรรม ทีเกิดที่โรงเรียนจนถึงบ้านโดยผู้ปกครอง และจากมุมมอง ของหลายนักวิชาการ

            การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองก็คือการเข้าไปมีส่วนในการช่วยเหลือนักเรียนในกิจกรรมที่เกี่ยวกับ กระบวนการเรียนการสอนทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านเพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง (Rosenblatt & Peled, 2002; Haack, 2007) ซึ่งการเข้าไปมีส่วนร่วมนั้นมีทั้งทางทัศนคติ (attitudes) พฤติกรรม (behaviors) ข้อห้าม (barriers) และข้อสนับสนุน (facilitators) ต่างๆ การเข้าไปมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง นั้นเข้าไปได้หลายวิธีการ เช่นการ เข้าไปควบคุมการเรียนของลูก เข้าไปวางแผนจัดการเรียนให้ลูก การมีส่วนร่วมในกิจกรรมท ี่โรงเรียนการสื่อสารและ พูดคุยในเรื่อง การเรียนของลูก การเข้าไปเยี่ยมเยือนศูนย์การเรียน โรงเรียน ห้องเรียน เข้าร่วมประชุมผู้ปกครอง เข้าไปเป็นสมาชิกในองค์กรของโรงเรียน เข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ การพูดคุยอยู่เสมอกับการเรียนของลูกกับครู และที่สำคัญก็คือการมีส่วนร่วมในการวางนโยบายต่างๆ ของโรงเรียน อันจะช่วยส่งเสริมการเรียนของลูก และสร้าง ความมั่นใจในการสอนและการใช้เทคนิคและรูปแบบการสอนของครู (Becker & Epstein, 1982; Asmus, 2005)

            Ford และ Amaral (2006) ได้สรุปการมีส่วนร่วมมีอยู่ 2 รูปแบบคือ 1) การมีส่วนร่วมที่โรงเรียน (school-centered parent involvement) และ 2) การมีส่วนร่วมที่บ้าน (home-centered parent involvement)การมีส่วน ร่วมที่โรงเรียนได้แก่ การทำกิจกรรมต่างๆ ในห้องเรียน การช่วยเหลือทางสังคมของโรงเรียนการเข้าร่วมในสถานะ กรรมการ หรือตัวแทนในการประชุมกิจกรรมต่างๆ ส่วนการมีส่วนร่วมที่บ้านได้แก่ การเข้าไปมีส่วนโดยตรงกับการทำ กิจกรรมของนักเรียน เช่นช่วยทำการบ้าน จัดสรรเวลาการทำงาน ควบคุมการดูทีวี รับส่งลูก ไปร่วมกิจกรรมต่างๆ ของลูก และส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจในการเรียนของลูกเป็นต้นและ


            สุกรี เจริญสุข (2547) ชี้ให้เห็นปัจจัยสำคัญของผู้ปกครองที่มีอิทธิพลต่อการเรียนดนตรีของลูก เช่นการพาลูกเข้า ฟังคอนเสิร์ต ครอบครัวเป็นเจ้าของร้านขายเครื่องดนตรี ครอบครัวมีห้องอัดเสียง ครอบครัวเป็นนักดนตรีซึ่งปัจจัยเหล่า นี้เป็นแรงจูงใจให้ลูกหันมาสนใจการเรียนดนตรี และ Brand (อ้างใน Asmus, 2005) ได้ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวการ เรียนดนตรีของเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากปัญหาครอบครัวเป็นอันดับแรก เช่น พ่อแม่ไม่มีดนตรีในหัวใจครอบครัวไม ่มีใจรักในดนตรี ไม่ได้เรียนดนตรีเมื่อยังอยู่ในวัยเยาว์ ในครอบครัวไม่มีใครเล่นดนตรีได้เลย ไม่มีเวลาให้กับลูก และไม่มีเครื่องดนตรีที่บ้านดีให้ลูกเล่น และ


            เพื่อสนับสนุนในเรื่องนี้ สหรัฐ จันทร์เฉลิม (2002) ได้ศึกษาอิทธิพลของครอบครัวต่อการเรียนดนตรีของเด็ก พบว่าเด็กที่เรียนดนตรีระดับเกรดสูงๆ ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวมีฐานะดีและจุดประสงค์ของการเรียนดนตรี เพื่อการใช้ เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มากกว่าการนำไปประกอบอาชีพ และ Kaether (2006) ได้แนะนำข้อควรปฏิบัติสำหรับ ผู้ปกครองไว้ดังนี้ 1) มีกรอบตารางเวลาการฝึกซ้อมแน่นอน 2) อ่านการบ้านของลูกและทำความเข้าใจบทเพลง 3) ควรอยู่ใกล้ลูกเมื่อลูกฝึกซ้อมดนตรี 4) ให้กำลังใจเมื่อลูกเล่นหรือฝึกซ้อมจบ 5) ให้ลูกอธิบายว่าเขาได้เรียนอะไรมาจาก โรงเรียน 6) ชื่นชมผลงานต่อหน้าลูก 7) จัดบรรยากาศห้องซ้อมดนตรีภายในบ้าน 8) เล่นดนตรีให้เพื่อนบ้านได้ฟังอยู่เสมอ 9) ให้ลูกได้รับฟังดนตรีหลากหลายรูปแบบ 10) จัดมุมหนังสือดนตรีภายในบ้าน 11) สัญญาให้ลูกเรียนดนตรีหรือเล่น ดนตรี และ 12) จัดหาครูดนตรีดีๆ มาสอนลูกที่บ้านเป็นต้น ตัวอย่างของผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมกิจกรรม ทั้งที่บ้านและที่ ี่โรงเรียนเช่น


            การมีส่วนร่วมทำกิจกรรมที่โรงเรียน: การสนับสนุนของผู้ปกครองที่มีการสนับสนุนทั้งโรงเรียนของรัฐและเอกชน ตัวอย่างเช่น การอาสาสมัครช่วยงานในชั้นเรียน การร่วมงานกีฬาโรงเรียน การร่วมคอนเสิร์ตของโรงเรียน การจัด กิจกรรมต่างๆเพื่อสังคมและชุมชน การพูดคุยกับครูเกี่ยวกับการเรียนของลูก และการตั้งกองทุนโรงเรียน (Epstein, 1995)  นอกจากนั้นการมีส่วนร่วมในงานการบริหาร เป็นกรรมการโรงเรียน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจให้ความเห็น ต่อครูหรือผู้บริหารทั้งภายในและนอกโรงเรียน การช่วยเหลือครูผู้สอนในรูปแบบต่างๆ ให้ความร่วมมือในเรื่องการ เรียนที่โรงเรียนของลูก การช่วยกันทำการบ้าน และหน้าที่สำคัญของผู้ปกครองคือ การให้และสนับสนุนการศึกษาของลูก ทุกรูปแบบอย่างมีระบบและต่อเนื่องจนกว่าจบการศึกษาจากโรงเรียน ( Haack, 2007; Ascher อ้างใน Jarvis, 2003) และ
การมีส่วนร่วมทำกิจกรรมที่บ้าน: ผู้ปกครองเป็นส่วนแรกที่มีการสัมผัสกับนักเรียนโดยตรงตัวอย่าง เช่น การทบทวนใบ รายงานผลของลูก การเช็คเวลาเข้าเรียน การสร้างแรงจูงใจในการเรียนและทำการบ้าน การจัดสรรเวลามาอยู่กับลูก (Haack , 2007) การยืมหนังสืออุปกรณ์การเรียนให้ลูก การพาลูกไปชมภาพยนตร์ การให้รางวัลหรือการลงโทษหรือ พูด คุยเกี่ยวกับปัญหาสังคมที่โรงเรียน (Epstein, 1995) ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์, (2007) ชี้ให้เห็นสองปัจจัยสำคัญของ ผู้ปกครองที่ส่งผลต่อการเรียนดนตรีของลูกคือ 1) ปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม เช่นด้านอุปกรณ์เครื่องดนตรี สถานที่ การ ให้เวลาสำหรับการฝึกซ้อม การแสดงดนตรี และการจัดสรรเวลาสำหรับกิจกรรมและการเรียน และ 2) ปัจจัยทางด้านแรง จูงใจ เช่น การที่ผู้ปกครองมีญาติ หรือพี่น้องในบ้านเล่นดนตรี การฟังดนตรีร่วมกัน การเข้าชมการแสดงดนตรี และสนับ สนุนส่งเสริมในการเรียนดนตรี Hughes (2006) ได้กล่าวถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่บ้าน เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองต้องจัด บรรยากาศ การเรียนดนตรีให้เกิดขึ้นที่บ้าน เช่นการเปิดบทเพลงฟังภายในบ้านในขณะทำกิจกรรมหรือพักผ่อน ให้ลูกคุ้น เคยกับดนตรีทุกชนิด เลือกเพลงประกอบบทเรียนสำหรับให้ลูกฟัง และผู้ปกครองควรมีการจัดแสดงดนตรีภายใน ครอบครัวเพื่อสร้างแรงจูงใจและการแสดงออก

หนังสืออ้างอิง
สุกรี เจริญสุข. (2547).โฉมหน้าใหม่ดนตรีในประเทศไทย: งานประชุมวิชาการ
        ดนตรี ครั้งที่ 5, 20-21 กันยายน
สหรัฐ จันทร์เฉลิม. (2002). สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนดนตรีใน
        ปัจจุบัน.มิวสิค ทอล, 49 (11),15-16.
Adeyemo, D.A. (1998). Parental involvement, interest in schooling and school
environment as predictors of academic self-efficacy among fresh secondary school students in Oyo state, Nigeria. Retrieved September 2, 2007 from
http://www.investigacionpsicopedagogica.org/revista/articulos/5/eng/ish/Art_5_40.pdf
American Music Conference. (2007).The voice of music making. Retrieved
March 10, 2007, from http://www.American%20Music%20Conference.htm
Asmus, E. P. (2005). The impact of music education on home, school, and
community. Retrieved September 17, 2006, from
http://www.uncg.edu/mus/SoundsOfLearing/HomeSchoolCommunity.pdf
Becker, H. & Epstein, J. L.(1982). Parent involvement: A survey of teacher practices.
Elementary School Journal, 83, 85-102.
Ford, L.,& Amaral, D. (2006). Research on parent involvement: Where we’ve been
and where we need to go? Retrieved September 2, 2007 from
http://www.slc.educ.ubc.ca/eJournal/Issue3/Ford.pdf.
Haack, M.K. (2007). Parents’ and teachers’ beliefs about parental involvement in
schooling. Retrieved September 2, 2007 from
http//www.digitalcommons.unl.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=10112Context= cehsdiss.
Jarvis, L.A. (2003). Keeping in touch with parents via e-mail. Retrieved
November 30, 2006, from
http://www. Imet.csus.edu/imet3/Iori/eportfolio/rev_Lit.html.
Kathlee, C. (1996). Affective and social benefits of small-scale schooling.
ERIC Digest Retrieved July 30, 2006 from http://www.ericdigests.org/1997-2/small.htm.
Rosenblatt, Z., & Peled, D. (2002). School ethical climate and parental
involvement. Journal of Educational Administration, 40(4), 349-367


                                                                                                                  
โดยไพบูลย์ บุณยเกียรติ

view

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ19/09/2007
อัพเดท28/10/2023
ผู้เข้าชม461,800
เปิดเพจ651,469
สินค้าทั้งหมด1

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

view