http://www.musiclandpiano.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

สินค้า

บทความ

 ถาม-ตอบ

หน้าติดต่อเรา

การหยุดเรียนกลางคันของโรงเรียนดนตรีเอกชน

การหยุดเรียนกลางคันของโรงเรียนดนตรีเอกชน


            การหยุดเรียนกลางคัน: เป็นสาเหตุใหญ่ของโรงเรียนดนตรีเอกชนในปัจจุบัน ไม่ว่าในประเทศไทยหรือหลาย ประเทศทั่วโลก จากรายงานยอดขายหนังสือแบบฝึกหัดเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ระดับต้น (เกรด 1) ปี 1996 ของ Alfred Publishing Company (Chappell, 1996) พบว่ามียอดที่ผู้เรียนสั่งซื้อหนังสือแบบฝึกเครื่องดนตรีเล่ม ต้น เฉลี่ยถึง 2 ล้านเล่ม และมียอดสั่งซื้อหนังสือแบบฝึกหัดเล่มที่ 2 (เกรด 2) ลดลงถึง 10-20 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า แสดงว่ามีนักเรียน หยุดเรียนต่อในขั้นที่สูงขึ้นจำนวนมากมายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง

            การหยุดเรียนกลางคัน มีการให้คำจำกัดความไว้เช่น หยุดเรียนชนิดกะทันหันจากโปรแกรมการเรียนการ สอนหรือจากโรงเรียนโดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า (Sinclair, 1993) หยุดเรียนและไม่มีการโอนการเรียนไปที่โรงเรียน แห่งใหม่ (Bachman, Green, & Wirtanen อ้างใน Chavez, Belkin, Hornback & Adams, 1991) และจากโรงเรียน โดยไม่ได้รับผลการเรียนหรือประกาศนียบัตรเลย (U.S. Department of Labor, 2003) ซึ่งผลจากการที่นักเรียนหยุด เรียนกลางคันโดยภาพรวม ย่อมเกิดผลกับนักเรียนโดยตรง เช่น ได้งานทำในตำแหน่งต่ำ ไม่มีงานทำหรือตกงาน มีฐานะ ยากจน มีผลต่อสุขภาพจิต มีปัญหากับครอบครัวและสังคมรอบข้าง และส่งผลให้ไม่มีโอกาสเรียนหนังสือในระดับที่สูงขึ้น (Slavin, 2003)

            Rumberger (2001) ได้ให้เกณฑ์การหยุดเรียนกลางคันไว้ 2 ระดับคือ1) ระดับเอกตบุคคล ประกอบด้วย (ก) ปัจจัยส่วนตัวของผู้เรียน เช่น ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีพันธะสัญญาทางสังคมภายในโรงเรียน เช่น ห้องเรียน กิจกรรมของโรงเรียน ความสัมพันธ์ในหมู่วัยรุ่นและเพื่อนฝูง (ข) ปัจจัยครอบครัวของผู้เรียนมีอยู่หลายองค์ ประกอบ เช่น โครงสร้างของครอบครัว ครอบครัวที่แยกกันอยู่ หรืออยู่กับผู้อุปการะ (ค) ปัจจัยรายได้ซึ่งเป็นหลักของ ครอบครัวที่สามารถจ่ายค่าเล่าเรียนที่แพงโดยเฉพาะการเรียนไวโอลิน กับ บัลเลย์ และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ ผู้เรียน ผลของคะแนนทีนักเรียนได้รับจากการสอบเป็นตัวตัดสินใจอนาคตในการศึกษาต่อหรือหยุดเรียนเป็นต้น

            ชนิดของการหยุดเรียน Hronick และ Hargis (อ้างใน Crain-Dorough, 2003) ได้กล่าวว่าการหยุดเรียน สามารถมองได้4 รูปแบบคือ
1) การหยุดเรียนแบบเฉยๆ (quit drop-out) การหยุดเรียนประเภทนี้นักเรียนจะหยุดเรียน ไปเลยไม่ทำหนังสือขอลา หยุดและไม่เขียนรายงานต่อครูหรือฝ่ายทะเบียน โดยไม่ทราบสาเหตุ
2) การบังคับลาออก (low achieving push out) สาเหตุมาจากผู้เรียนมีผลการเรียนสะสมต่ำจนไม่สามารถเรียนต่อ ตามเกณฑ์ที่โรงเรียน กำหนดได้ และอีกอย่างหนึ่งมา จากสาเหตุของความประพฤติส่วนตัวของผู้เรียน
3) การลาออกเพราะผลการเรียนสูง (high achieving push out) ส่วนใหญ่ของการลาออกก็เพื่อย้ายสถานศึกษา ที่ดีกว่าหรือการย้ายเข้าไปสู่โรงเรียนในเขตเมืองของผู้เรียนเองโดยไม่มีการบังคับการตัดสินใจและเป็นการสมัคใจของผู้เรียนเอง และ
4) การลาออกโดยเงื่อนไขภายในโรงเรียน (in-school dropout) การลาออกของนักเรียนส่วนใหญ่เกิดจากกระบวน การภายในของโรงเรียนที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าไม่มีความผูกพันกับโรงเรียน เช่น หลักสูตรมีให้เลือกน้อย หลักสูตรไม ่น่าสนใจ ไม่เป็นไปตามยุคสมัยนิยม โครงสร้างของโรงเรียน เช่น คุณลักษณะของครูผู้สอน ปัญหาคุณภาพและการใช ้อุปกรณ์การเรียนการสอน เช่นเปียโนที่ใช้สอนเก่ามากจนปรับเสียงไม่ได้ ใช้เปียโนราคาถูกระดับน้ำหนักไม่เหมาะ สมกับผู้เรียนบางระดับ ความเข้มหรือหย่อนยานในกฎระเบียบของโรงเรียน ความไม่ปลอดภัยของโรงเรียน และทำเล สถานที่ตั้งของโรงเรียน เช่นไม่มีที่จอดรถ เดินทางเข้าซอยที่ลึก ไม่มีที่สำหรับพักผ่อนให้ผู้ปกครองนั่งรอ ไม่มีมนุษย์ สัมพันธ์กับผู้ปกครอง มองการศึกษาเป็นเรื่องการซื้อขาย เป็นต้น 

        Chavez, Belkin, Hornback & Adams, (1991) และ Pieper, (2004) ได้สรุปปัจจัย
สำคัญที่ส่งผลต่อการหยุดเรียนไว้ 4 ประการ คือ
1) ปัจจัยจากเพื่อนฝูง (peer related) นักเรียนอยู่ในกลุ่มที่มีเพื่อนหยุดเรียนกลางคันมีอัตราความเสี่ยงสูง
2) ปัจจัยจากตัวนักเรียนเอง (personal related) เช่น ความขี้เกียจ การเข้าพิธีทางศาสนา การแต่งงาน เป็นทหารกองหนุน ขาดความอดทนในการเรียน ขาดความมั่นใจในตนเอง และขาดความสนใจในการศึกษา และจากการศึกษาผลกระทบของการหยุดเรียนกลางคันของ Goldschmidt และ Wang (1999) พบว่านักเรียนที่หยุดเรียนกลางคันมักจะใช้สารเสพติดและมีปัญหากับครอบครัวและ Rumberger (2001) ได้ศึกษาถึงพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนของผู้เรียนพบว่า จำนวนครั้งในการเข้าเรียนสูงมีโอกาสหยุดเรียนกลางคันน้อย
3) ปัจจัยจากครอบครัว (family related) เช่น ครอบครัวมีลูกมาก ครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เพียงลำพัง (Goldschmidt & Wang, 1999) ระดับการศึกษาของพ่อแม่ รายได้ของผู้ปกครองและระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างทางการศึกษาของผู้ปกครองที่บ้าน (Crain-Dorough, 2003) และ
4) ปัจจัยที่เกิดจากโรงเรียน (school related) เช่นคุณภาพของครูผู้สอน คุณลักษณะของหลักสูตรที่ใช้สอน ผลการเรียนที่ต่ำและตกซ้ำชั้น ความสัมพันธ์กับผู้ปฎิบัติภายในโรงเรียนมีน้อย การไม่ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนฝูงที่โรงเรียน และพฤติกรรมส่วนตัวของผู้เรียนเอง

            ในการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ของครูกับนักเรียนต่อการหยุดเรียนกลางคันของ Kaufman, Kwon, Klein, และ Chapman (2000) พบว่าถ้าครูมีความเอาใจใส่ใจต่อการเรียนของผู้เรียน ผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียนมีทัศนคติในแนวเดียว กันและทำกิจกรรมไปในทิศทางเดียวกัน และมีวัฒนธรรมโรงเรียนเหมือนกัน อัตราการเสี่ยงต่อการหยุดเรียนกลางคัน ของผู้เรียนน้อย และ Bergeson และ Heuschel (2003) ได้สนับสนุนว่า ครูที่มีประสบการณ์สอนมากส่งผลต่ออัตรา การหยุดเรียนกลางคันของผู้เรียนลดลง และ

            พฤติกรรมและกิจกรรมของผู้เรียนที่ส่งผลต่อการหยุดเรียนกลางคันลดลง พบว่ามีอยู่หลายอย่างและหลาย เงื่อนไข เช่น
1) การสร้างกลุ่ม (student composition) หรือการตั้งชมรมต่างๆ ภายในโรงเรียน (Rumberger, 2001)
2) ทรัพยากรของโรงเรียน( school resources) Bryk และ Thum (อ้างใน Rumberger, 2001) ยืนยันว่าอัตราส่วนของ ครูต่อนักเรียน ประสิทธิภาพของครูผู้สอนส่งผลต่อการหยุดเรียนกลางคันของผู้เรียนลดลง
3) ลักษณะโครงสร้างของโรงเรียน (school structure) เช่น โรงเรียนคาธอลิกหรือโรงเรียนเอกชน การหยุดเรียนกลางคันน้อยกว่าโรงเรียนในการกำกับดูแลของรัฐ (Coleman & Hoffer อ้างใน Rumberger, 2001) และ 4) นโยบายและการปฏิบัติ (school policies and practices) เช่นบรรยากาศทางวิชาการ บรรยากาศทางสังคม และกฎระเบียบวินัยของโรงเรียน ทำให้การหยุดเรียนกลางคันของนักเรียนมีอัตราส่วนลดลง ( Finn, Wehlage, Smith, Lesko Bryk & Thum, McNeal อ้างใน Rumberger (2001)

            การหยุดเรียนกลางคันในโรงเรียนดนตรีเอกชนในประเทศไทย มีอยู่จำนวนไม่น้อยเหมือนกันซึ่งอาจแบ่งออก ได้เป็น 2 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ 1) ปัจจัยผู้เรียน เช่นผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย (สุกรี เจริญสุข, 2547) ขาดการกระตุ้นให้เกิด ความสนใจ (Gourley, 2003) เรียนดนตรีแล้วไม่สนุกไม่ก้าวหน้า มีกิจกรรมมากมาย ไม่เป็นนักดนตรีที่ดี ขี้เกียจฝึกซ้อม (Gourley, 2003; Vikham, 2006) ร่างกายไม่ตอบสนอง ไม่ชอบรูปแบบของการผสมวงที่เล่นอยู่ นักเรียนเอาเวลาไป เล่นกีฬา (Chappell, 1996) มีกิจกรรมส่วนตัวมาก เล่นเกมคอมพิวเตอร์ ดูหนัง โทรศัพท์กับเพื่อนฝูง (อนุสสรณ์ สิทธราษฎร์, 2003) แล 2) ปัจจัยโรงเรียนที่เรียนอยู่ เช่น ครูผู้สอนดุ ครูไม่มีเทคนิคการสอน ครูอยากให้ผู้เรียนแสดง คอนเสิร์ต ครูตั้งจุดมุ่งหมายแทนนักเรียนโดยไม่สอบถามจุดประสงค์การเรียนดนตรีของผู้เรียน มีการบ้านมาก บทเรียน น่าเบื่อ ตารางสอนไม่ตรงกัน และคุณลักษณะของหลักสูตรที่ใช้สอน (Gourley, 2003) และ

            คมสันต์ วงค์วรรณ์ (2549) ได้ศึกษาถึงสาเหตุของผู้เรียนดนตรีที่หยุดเรียนกลางคัน ของผู้ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา เล่นเปียโนในโรงเรียนดนตรีเอกชน เขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่าผู้หยุดเรียนกลางคันส่วนใหญ่ ไม่ชอบหลัก สูตร เบื่อหน่ายต่อการฝึกซ้อม ขาดสมาธิในการเรียน และปัญหาเกี่ยวกับเครื่องดนตรีราคาแพง

            Costa-Giomi, Flowers และ Sasaki (2005) ได้ศึกษาการหยุดเรียนกลางคันของนักเรียนเปียโนเกรด 1 พบว่า มีอยู่จำนวนที่สูง ซึ่งพบว่ามาจากสาเหตุพฤติกรรมการสอนและพฤติกรรมส่วนตัวของครูมากกว่าปัญหาที่เกิดจากตัวผู้เรียน และอีกสาเหตุหนึ่งก็คือตัวผู้ปกครองที่ไม่สนับสนุนให้ลูกเรียนดนตรี ตัวอย่างเช่น ใช้ให้ไปทำงานอย่างอื่น ไม่มีความ สามารถจ่ายค่าเล่าเรียนที่สูง เครื่องดนตรีมีราคาแพง สถานที่ตั้งโรงเรียนอยู่ไกลบ้าน ไม่สะดวกในการเดินทาง และ โรงเรียนไม่มีเชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของสังคม

            การวัดการหยุดเรียนกลางคัน มีเกณฑ์การวัดและนิยมใช้กันสองวิธีคือ (Chavez, Belkin, Hornback, & Adams,1991) คือ 1) การวัดแบบข้ามขั้นตอน (cross-section studies) ในการวัดแบบการศึกษาข้ามขั้นตอนนั้น จะ คำนวณจำนวนนักเรียนที่มาลงทะเบียนเรียนต่อวิชาหรือต่อชั้นเรียน หน่วยวัดต่อปี 2) การวัดแบบกลุ่ม (cohort studies) จะคำนวณจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ลงทะเบียนเรียน หรือจำนวนรวมทั้งหมดที่นักเรียนจบหลักสูตรในแต่ละหลักสูตรหน่วย วัดต่อปี อย่างโรก็ตามการวัดการหยุดเรียนกลางคันแบบข้ามขั้นตอนเป็นวิธีง่าย ที่สามารถจะคำนวณการหยุดเรียนกลาคัน ได้ในระหว่างการเรียนเพราะคำนวณในแต่รายวิชาเท่านั้น แต่การวัดการหยุดเรียนแบบกลุ่ม ทำได้ตอนนักเรียนจบหลัก สูตรเท่านั้น ซึ่งอาจใช้เวลาวัดได้เพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น

            โดยสรุป ปัญหาการหยุดเรียนในโรงเรียนดนตรีเอกชนในประเทศไทยสาเหตุใหญ่ที่พบ เกิดจากหลักสูตรของ โรงเรียนมีไม่พอและไม่สนองตอบต่อความสนใจของผู้เรียน เพราะความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ ทำให้ผู้เรียนรู้ มากกว่าที่ครูรู้ที่ครูนำมาใช้สอนในห้องเรียนเสียอีก และอีกประการหนึ่งครูไม่มีเทคนิคการสอนที่ดีที่จะทำให้ผู้เรียนตื่นเต้น กับการสอนของครูอยู่เสมอ ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย ผลไม่อยากเรียนหรือฝึกซ้อมเครื่องดนตรี ในที่สุดผู้เรียน ไม่มาเรียนเอาเฉยๆ (quit drop-out)

เอกสารอ้างอิง
สุกรี เจริญสุข. (2547). พรแสวงวิทยา.ดนตรีศึกษา, 10 (7), 26-34.
คมสันต์ วงค์วรรณ์. (2547). ปัญหาการเรียนการสอนในโรงเรียนดนตรีเอกชนในอำเภอ
หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. Retrieved June 23, 2549, from
http://www.classroom.psu.ac.th/users/wkomson/Private%20school.pdf.
อนุสสรณ์ สิทธิราษฏร์. (2003). ขี้เกียจฝึกซ้อมจะทำไรดี.Music Talks, 52(3),6-7.
Bergeson, T. & Heuschel, M.A. (2003). Helping students finish school: Why
Students drop out and how to help them graduate. Retrieved June2,
2007 from
http://www.k12.wa.us/research/pubdocs/pdf/dropoutreport/2003.pdf
Chappell, J. (1996).The piano: Its present and future. Retrieved June 2, 2007
from http://www.jeffreychappell.com/kb_piano.htm.
Chavez, R.C., Belkin,L.D., Hornback,J.G., & Adams, K. (1991). Dropping out
of school: Issues affecting culturally, ethnically, and linguistically distinct student groups. The Journal of Educational Issues of Language Minority Students. Retrieved August 28, 2549 from http://www.education.nmsu.edu/faculty/ci/ruchavez/publications/ DroppingOutOfSchool.htm
Costa-Giomi, E., Flowers.P., & Sasaki, W. (2005). Piano lessons of beginning
students who persist or drop out: Teacher behavior, student behavior,
and lesson progress. Journal of research in Music Education.53(3), 234-247
Crain-Dorough, M.L (2003). Study of dropout characteristics and school-level
effects on dropout prevention. Retrieved May 25, 2007 from
http://www.etd./su.edu/docs/available/etd-0710103-621510/unrestricted/
Crain-Dorough_dis.pdf
Goldschmidt, P., & Wang,J. (1999). When can schools affect dropout
behavior? A longitudinal multilevel analysis. Retrieved May 5, 2007
From
http://www.aer.sagepub.com/cgi/reprint/36/4/715.pdf.
Kaufman, P., Kwon, J. Y., Klein, S., & Chapman,C. D. (2000). Dropout rates
in the United States: 1998 (National Center for Education Statistics
2000-022).Washington, DC: U.S. Department of Education.
Pieper, A.M. (2004). Student satisfaction in charter: The relationship
between school characteristics and student opinion. Paper present
at The annual Meeting of the American Educational Research
Association ,San Diego, CA. Retrieved June 12,2549, from
http://www.tcer.org/tcer/schools/Charter_student_sury.pdf.
Sinclair, J. (Ed.). (1993).Collins Cobuild English Language Dictionary
(10th ed.) London: HarperCollins Publishers.
Slavin, R.E. (2003). Educational psychology: Theory and practice (7thed).
NY: Allyn and Bacon.
Vikham, F. (2006). Learn to play the piano at home scientific research.
Retrieved June 2, 2007 from
http://www.colorkeys.com/scientificresearch.html



                                                                                                                   โดย ไพบูลย์ บุณยเกียรติ



view

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

สถิติ

เปิดเว็บ19/09/2007
อัพเดท07/08/2024
ผู้เข้าชม486,017
เปิดเพจ676,981
สินค้าทั้งหมด1

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

view