http://www.musiclandpiano.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

สินค้า

บทความ

 ถาม-ตอบ

หน้าติดต่อเรา

โรงเรียนดนตรีเอกชนในประเทศไทยกับปัญหาและการพัฒนา

โรงเรียนดนตรีเอกชนในประเทศไทยกับปัญหาและการพัฒนา

                                                                                            โดย ไพบูลย์ บุณยเกียรติ

                ดนตรีเป็นวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลสูงต่อระดับพลังงานและความรู้สึกของมนุษย์ (Cross, 2001) ที่สามารถแสดง ออกได้ทางพฤติกรรมในหลายรูปแบบ โดยทั่วไปแล้ว มีการแสดงออกทางเสียง บทเพลง และการเต้นรำ ดังนั้นดนตรีจึง เข้ามามีส่วนสำคัญในกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา ไม่ว่าชนชาติใดภาษาใด ดนตรีช่วยมอบ ความบันเทิงและ ช่วยกล่อมเกลาจิตใจของมนุษย์ให้มีความละเอียดอ่อน และมีสมาธิกับสิ่งที่ทำมากขึ้น

                ดนตรีจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญทางกายและจิตใจมนุษย์ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีความเกี่ยวพันด้วยตลอด มา ต่อการดำรงชีพของมนุษย์ มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนระบบการทำงาน ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวอย่าง มีระเบียบ มีแบบแผน และมีขั้นตอน นอกจากนั้น ดนตรียังสามารถสร้างอารมณ์ เสียงของดนตรียังถ่ายทอดความรู้สึกผ่าน ไปยัง ประสาทสัมผัสของร่างกายได้ (อุดม เพชรสังหาร, 2548) และกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2544) ได้ให้ วิสัยทัศน ์และแนวคิดของการเรียนดนตรีในระดับพื้นฐานไว้ว่า

                หากเด็กไทยทุกคนได้เล่นดนตรีโดยผ่านสื่อและเครื่องมือประกอบการเรียบเรียงบรรเลง อย่างมีความสุขและ สนุกสนานจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เกิด ความคิดสร้างสรรค์ในขั้นสูง การพัฒนาสมองเด็กโดยผ่าน กิจกรรม ดนตรีจึงเป็นการวางพื้นฐานสำหรับเด็กที่จะเติบโตไปในอนาคต เด็กจะเป็นผู้ที่มีความคิดฉับไว ในการแก้ปัญหา เพราะ ดนตรีช่วยพัฒนาความฉลาดให้กับเด็กในส่วนนี้ ในขณะเดียวกันเด็กๆเหล่านี้ก็จะเป็นผู้มีวัฒนธรรม มีความประณีต มี เสน่ห์ และมีความงามอยู่ในตัว (น.7)

                ดังนั้นจึงยืนยันได้ว่า ดนตรีเป็นอุปกรณ์เสริมสิ่งดีๆให้แก่มนุษยชาติ เกิดประโยชน์หลายๆด้านต่อร่างกาย แต่ ประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ก็คือ สามารถขัดเกลาจิตใจมนุษย์ให้งดงาม สร้างจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถ พัฒนา ร่างกายในทุกด้าน เช่น พัฒนาทางด้านปัญญา ด้านสุนทรียะ ด้านสังคม ด้านภาษา และเป็นคนมีเหตุผล (ณรุทธ์ สุทธิจิตต์, 2544 ; สุกรี เจริญสุข, 2546 ; อ่อนโยน แจ่มใส, 2548; อุดม เพชรสังหาร, 2548; Anderson & Lawrence, 2001) สิ่งที่ กล่าวมานั้น ล้วนเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญ ในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์ สมควรอย่างยิ่งที่จะให้เด็ก ได้มีโอกาสเรียนดนตรีกันอย่างทั่วถึงทุกคน

                Mason (อ้างใน Pemberton, 1992) กล่าวว่า “มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอนดนตรีกับเด็กๆ ให้ได้ เหมือนกับการสอนให้เขาอ่านหนังสือ ถ้ายังทำเช่นนั้นไม่ได้ เราไม่สามารถที่จะคาดหวังการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืนได้” (น.49) (Mason said,“children must be taught music as they are taught to read until something of this kind is done, it is vain to expect any great and lasting improvement”) นอกจากนั้น Australian Council for the Arts (2005) มีแนวคิดเช่นเดียวกันว่า เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าสู่ประสบการณ์การเรียนดนตรี ภายในระบบโรงเรียนและภาย ใต ้เงื่อนไขที่ว่า ครูผู้สอนต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม มีความรู้มีประสบการณ์การสอน ทั้งมีผู้เชี่ยวชาญคอยฝึกฝนให้ได้ผลลัพธ์ ของการศึกษาที่เหมาะสม ประสบการณ์ดนตรีที่ให้เขาเหล่านั้น เป็นองค์ประกอบสำคัญในภายหน้าที่นำมาทำกิจกรรมต่างๆ ทางดนตรี และควรจะปลูกฝังให้เด็กมีโอกาสได้ศึกษาดนตรีโดยทั่วถึงกัน

                ดนตรีเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งในหลายๆ ศาสตร์ที่อยู่คู่กับมนุษย์มาเป็นเวลานาน ดนตรีให้ทั้งความรู้ ความบันเทิง การผ่อนคลายอารมณ์ และยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ปัญญา ความคิด สร้างสรรค์ และบุคลิกภาพ ดังนั้นดนตรีจึงเป็นตัวเชื่อมนำสิ่งต่างๆให้มีคุณภาพชีวิตที่สมดุล การก้าวเข้าสู่การเรียนดนตรี  ของเด็กนักเรียน ก็คือการมอบรางวัลอันยิ่งใหญ่ให้แก่ชีวิต ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ เพื่อการเข้าสู่การ พัฒนาที่ยั่งยืน Gouzouasis, Guhn, และ Kishor (2007) ยืนยันว่าเด็กที่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางดนตรีจะมีผลสัมฤทธิ์ ทางวิชาการดีกว่าผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมดนตรีเลย ดังนั้นวิชาดนตรีจึงมีความสำคัญและได้จัดไว้ในหลักสูตร การศึกษาในหลายระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับอุดมศึกษา ทั้งโรงเรียนของรัฐและโรงเรียนดนตรีของเอกชน

                การเรียนการสอนดนตรีในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ.2435 (กระทรวงธรรมการ, 2435) เป็นการสอนวิชา ขับร้อง สรภัญญะ โอ้เอ้วิหารราย จุดประสงค์เพื่อฝึกหัดร้องเพลง และในเวลาต่อมา มีการเปิดโรงเรียนสอนดนตรีตาม พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวคือ “โรงเรียนดนตรีพรานหลวง” ตั้งเมื่อ 30 พ.ย. 2461 (ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์, 2539) และในปี 2477- 2479 มีการตั้งโรงเรียนดนตรีอีกหนึ่งแห่งคือ “ วิทยาสากลดนตรีสถาน” (สุกรี เจริญสุข, 2540) และในปี 2479 นายเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีบริษัทภาพยนตร์ ไทยฟิล์ม ได้ก่อตั้งโรงเรียนดนตรีชื่อว่า “ คอนคอร์เดียร์ (สุวัฒน์ วรดิลก, 2532)

                การสอนดนตรีในประเทศไทยได้มีการจัดทำหลักสูตรดนตรีขึ้นหลายครั้ง เช่น พ.ศ.2544 โดยกรมวิชาการ นำหลักสูตรดนตรีใน พ.ศ. 2535 มาปรับปรุงใหม่โดยเอามารวมอยู่ในกลุ่มวิชาพื้นฐานและได้จัดออกเป็น 6 กลุ่มด้วย กันคือ ดนตรีในชีวิตประจำวัน เสียง การขับร้อง การปฏิบัติเครื่องดนตรี ทฤษฎีโน้ตและองค์ประกอบดนตรี และประวัติ ดนตรี และจากการปรับปรุงหลักสูตรดนตรีในครั้งหลังสุดนั้น ยังไม่มีการปรับปรุงอีกเลยและได้นำหลักสูตร พ.ศ. 2544 มาดำเนินการสอนในโรงเรียนจนถึงทุกวันนี้ (กรมวิชาการ, 2545)

                การเรียนการสอนดนตรีในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์ (Postmodern)ผู้ ู้ปกครองมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของวิชาดนตรีเป็นสำคัญ จึงนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนดนตรีเพิ่มมากขึ้นตาม ลำดับ โดยเฉพาะการเรียนเล่นเปียโน (Piano) และเครื่องดนตรีอื่นๆ เปียโนนั้น เป็นเครื่องดนตรีที่มีราคาแพง ใช้เงินลงทุน ในการเรียนการสอนค่อนข้างสูง โรงเรียนของรัฐมีจำนวนน้อย ที่มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนได้ ดังนั้น โรงเรียนดนตรีเอกชนจึงได้เข้ามามีบทบาททางการศึกษาและได้มีการจัดตั้งโรงเรียนดนตรีและจัดการสอน ทั้งในระดับ พื้นฐาน ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง และแนวโน้มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ (สำนักงานบริหารคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน, 2547)

                การที่มีโรงเรียนดนตรีเอกชนและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ถือว่าเป็นการดีเพราะจะได้ช่วยแบ่งเบาภาระการ ศึกษาของชาติได้ระดับหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วโรงเรียนดนตรีเอกชนจะจัดการศึกษาระดับวิชาชีพนอกระบบโรงเรียนเท่านั้น จุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ดนตรีขั้นพื้นฐาน โดยไม่จำกัด เพศ อายุ และสถานที่สอน โดยใช้หลักสูตรที่ ี่โรงเรียน สร้างขึ้นเองในการตอบสนองผู้เรียนตามความสนใจ เพิ่มความรู้ เพิ่มทักษะและสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง และ ครอบครัว ใช้เวลาเรียนตั้งแต่ 5 ชั่วโมงจนถึง 250 ชั่วโมงตามลำดับ (ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, 2543) และเพื่อให้มีความ ีสะดวกในการบริหารจัดการ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้โรงเรียนดนตรีเอกชนเหล่านี้ไว้ในมาตรา 15(2) ตามพระราช บัญญัติโรงเรียนเอกชนประเภทศิลปศึกษาและอาชีวศึกษา พ.ศ.2525 โดยมีแนวคิดให้ประชาชนได้มีการพัฒนาตนเอง ชุมชนมีส่วนร่วม มีความเสมอภาคทางการศึกษาและให้พึ่งพาตนเองได้ เพื่อให้ตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ ความสามารถตนเองในการทำงานและประกอบอาชีพ เพื่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาตนเองทั้งทางกาย สังคม และสติ ปัญญาโดยใช้ประสบการณ์ที่ได้เรียนมาเพิ่มความรู้ให้ตนเองทั้งสามด้านคือทักษะ เจตคติ และสติปัญญา โดยให้หลักสูตร มีความสัมพันธ์กับแรงงานและอาชีพอิสระ (Strom, 1996)

                จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว โรงเรียนดนตรีสยามกลการจึงถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2509 (Yamaha Music School) ซึ่งถือเป็นโรงเรียนนำร่อง และเป็นโรงเรียนดนตรีเอกชนรายแรกที่ได้จัดตั้งตามมาตรา 15(2) ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 ที่เปิดสอนตามรูปแบบการศึกษานอกระบบโรงเรียน ของกลุ่มหลักวิชา ดนตรี/การใช้เสียง/ร้องเพลง (กองบรรณาธิการ, 2548) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์ และเพื่อธุรกิจและการค้า

                โรงเรียนดนตรีเอกชนได้จัดตั้งและมีจำนวนเพิ่มขึ้นตามลำดับ มีทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีรูปแบบการ สอนต่างกัน เช่น แบบผู้ประกอบการ และแบบสัมปทานเอกชน ส่วนขนาดของโรงเรียน จะแบ่งตามจำนวนนักเรียนลง ทะเบียนเรียน เช่น 1-99 คนจัดเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 100-499 จัดเป็นโรงเรียนขนาดกลาง 500-1,000 ขึ้นไปจัดเป็น โรงเรียนขนาดใหญ่ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2548) วิชาที่สอนนั้นจะสอนภาคปฏิบัติ ฝึกความชำนาญเครื่องดนตรีที่ตนเอง ถนัด เช่น เปียโน กีตาร์ ไวโอลิน กลอง และจำพวกเครื่องลมไม้ หรือทองเหลือง เป็นต้น

                เวลาทำการสอนส่วนใหญ่ จะเปิดสอนวันเสาร์- อาทิตย์ตั้งแต่ 7.00น.- 21.00น. หลักสูตรการสอนจะแบ่งออก เป็น 3 ระดับคือ ขั้นต้น เกรด 1 เกรด 2 และเกรด 3 ขั้นกลาง เปิดสอนระดับเกรด 4 และเกรด 5 และขั้นสูงขั้นสุดท้าย เปิด สอนเกรด 6 7 และ 8 อายุของผู้เรียนจะเริ่มรับเข้าเรียนตั้งแต่ อายุ 4-6 ปีขึ้นไปสำหรับเด็กเล็ก ส่วนผู้ใหญ่ไม่กำหนดอายุ ุและความรู้ขั้นพื้นฐาน การกำหนดเวลาเรียนจะสอนอาทิตย์ละ 1 ครั้งๆ ละ 45 นาทีสำหรับเด็กเล็ก และ 1 ชั่วโมงสำหรับ ผู้ใหญ่ ส่วนอัตราค่าเล่าเรียนประมาณชั่วโมงละ 300 บาท สำหรับขั้นต้น 500 บาทสำหรับขั้นกลาง และ 800-2,000 บาท สำหรับขั้นสูง

                การวัดผลและประเมินผลผู้เรียน มีการวัดผลออกเป็นสองรูปแบบคือ รูปแบบแรก การวัดผลภายในโดยครูผู้
สอนและโรงเรียนจะเป็นผู้จัด เช่น จัดสอบในบทเรียน สอบจบการศึกษาเพื่อรับประกาศนียบัตร และรูปแบบที่สอง การจัด สอบภายนอก มีการจัดสอบโดยสถาบันดนตรีมาตรฐานจากต่างประเทศ ผู้เรียนดนตรีจะเข้ารับการทดสอบขึ้นอยู่กับการ สมัครใจ ไม่มีการบังคับ ผลของผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องได้คะแนนมาตรฐานที่สถาบันนั้นๆ เป็นผู้กำหนดไว้ในชุด ทดสอบ ผู้สอบผ่านก็จะได้ประกาศนียบัตรในแต่ละวิชานั้นๆ การสอบทั้งสองรูปแบบนี้ มีข้อแตกต่างอย่างมากก็คือการ กำหนดค่าสอบในแต่ละชุดสอบ (ระดับขั้น) จะมีค่าธรรมเนียมการสอบค่อนข้างสูง สำหรับสถาบันที่เปิดให้ทำการทดสอบ ความรู้ทางดนตรีและเปิดทำการทดสอบอยู่ในประเทศไทยขณะนี้เช่น Trinity London College of Music, Guildhall School of Music and Drama, London College of Music and Drama, Yamaha Music Foundation, AMEB (Australian Music Examinations Board) เป็นต้น

                จากการสำรวจโรงเรียนดนตรี Yamaha Music School ทั่วโลกที่เปิดสอนอยู่ในปัจจุบันพบว่ามีอยู่ทั้งหมด 7,600 โรง มีครูผู้สอน 21,000 คน และนักเรียนที่เรียนอยู่ในระบบอยู่ถึง 700,000 คน และนักเรียนที่ได้จบหลักสูตรไป แล้วถึง 5 ล้านคน (Yamaha Music Foundation, 2005) และ สุกรี เจริญสุข (2004) ได้สำรวจโรงเรียนดนตร ีเอกชนใน ประเทศไทย พบว่ามีอยู่ทั่วประเทศและกำลังดำเนินการสอนประมาณกว่า 400 โรงเรียน มีนักเรียนประมาณ 1.5 แสนคน
จากข้อมูลของสำนักงานบริหารคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (2550) พบว่ามีโรงเรียนดนตรีเอกชนที่ขอจด ทะเบียนตามมาตรา 15(2) ของพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน 2525 และยังคงดำเนินการสอนอยู่ทั่วประเทศ ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่มีอยู่ถึง 163 โรง มีครูอยู่ทั้งหมด 1,643 คน และนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนทั้งระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูงอยู่ถึงจำนวน 42,181คน และมีจำนวนโรงเรียนและนักเรียนที่สนใจเรียนดนตรี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามลำดับ

                การที่จำนวนโรงเรียนและนักเรียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นนั้น ปัญหาที่ตามมาก็คือประสิทธิผลของสถานศึกษา และ คุณภาพของผู้เรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนให้ความเห็นว่า ในโรงเรียนดนตรีเอกชนนั้น ประสิทธิผล หรือคุณภาพสถานศึกษาควรพิจารณาจากความหลากหลายในเชิงระบบ เช่น ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน การเข้าชั้นเรียน การ หยุดเรียนกลางคัน ความรู้ความสามารถ และการมีทักษะตามเกณฑ์ประเมินที่หลักสูตรกำหนด และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือผู้ เรียน จะต้องมีความสนใจ มุ่งมั่น และกระตือรือร้นต่อการเรียน มีคุณธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ และผู้เรียนจะต้องมี มนุษย ์สัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ต่อครู และบุคคลอื่นๆในสถานศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน, 2546)

                สำหรับเรื่องประสิทธิผล นักการศึกษาส่วนใหญ่มีแนวคิดตรงกันว่า องค์กรจำนวนมากจะมุ่งไปสู่การบริหาร จัดการให้องค์กรเกิดประสิทธิผลทั้งสิ้น เพื่อความชัดเจนในเรื่องนี้ คณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ได้กล่าวถึง ประสิทธิผลของโรงเรียน ก็คือผลที่ได้รับจากการจัดการเรียนการสอนและรวมถึงประสิทธิภาพทั้งระบบจุดประสงค์ของผู้ ูู้เรียน และภาพพจน์ที่ดีของโรงเรียน (สำนักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, 2546) และโดยภาพรวมแล้ว โรงเรียนที่มีประสิทธิผล หมายถึง การมีประสิทธิภาพ การบรรลุเป้าหมาย และการรักษาสภาพความ เป็นเลิศขององค์กรไว้ให้ได้นาน

                Hoy และ Miskel (2001) ให้ทัศนะว่า ประสิทธิผลเป็นเรื่องสำคัญมากในการพัฒนาโรงเรียน ที่สามารถผลิตผู้ เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและมีความพึงพอใจต่อวิชาที่ตนเองเรียนอยู่ พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล (2542) ได้ยืน ยันเรื่องผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนวิชาดนตรีว่า ส่วนใหญ่แล้วผู้เรียน ร้องเพลงไม่ค่อยตรงเสียงหรือตรงคีย์ (key) และผู้เรียน เล่นดนตรีไม่ค่อยมีความมั่นใจเท่าที่ควร Nye และ Nye (1992) ได้เสริมว่าการที่จะให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์วิชา ดนตรีสูง ได้นั้น จะต้องมีปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆดังเช่น ความพึงพอใจของตัวผู้เรียน สาระและประสบการณ์ทางดนตรีที่จะให้แก่ผู้เรียน การให้เวลาและทุ่มเทการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองต้องมีความร่วมมือกันในการส่งเสริม การ เรียนการสอน ครูมีการใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง และบรรยากาศของโรงเรียน ของห้องเรียน ห้องฝึกซ้อมจะ ต้องเหมาะสมเพื่อให้นักเรียนสามารถทำกิจกรรมทางดนตรีได้ ณรุทธ์ สุทธจิตต์ (2545) และ อรวรรณ บรรจงศิลป (2544) ได้สรุปจากการศึกษาและเห็นพ้องกันว่า การจัดสาระและประสบการณ์ดนตรีพื้นบ้านดนตรีประจำชาติไว้ในบทเรียน ของ ผู้เรียน มีผลต่อคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

                อย่างไรก็ตามโรงเรียนดนตรีเอกชนที่ทำการเปิดสอนอยู่ทั่วประเทศยังมีปัญหาหลายประการ ไม่เฉพาะผล สัมฤทธิ์ของผู้เรียนเท่านั้น สาเหตุอื่นก็มีพอสมควร เช่น บรรยากาศในห้องเรียน ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้ สอน ผู้ปกครองและตัวผู้เรียนเอง ก็เป็นอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบในทางบวกหรือลบต่อผู้ที่กำลังเรียนดนตรีทั้งสิ้น สหรัฐ จันทร์เฉลิม (2002) ได้ศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเรียนวิชาดนตรีของนักเรียนทุกระดับชั้น (เกรด) ในกรุงเทพ มหานคร พบว่ามีการตัดสินใจในการเรียนดนตรีด้วยเหตุผลที่ต่างๆกัน เช่น พ่อแม่บังคับให้เรียน เรียนเพื่อนำไปประกอบ อาชีพ ทดลองเรียน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเรียนตามเพื่อน ซึ่งค่าเฉลี่ยมีจำนวนเท่าๆ กัน และ

                คมสันต์ วงค์วรรณ์ (2549) ได้ศึกษาถึงสาเหตุของผู้ที่กำลังเรียนดนตรีและมีการหยุด เรียนกลางคันของผู้ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเล่นเปียโน ในโรงเรียนดนตรีเอกชนเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาพบว่า ผู้หยุดเรียนกลางคัน จำนวนที่พบ ไม่ชอบหลักสูตรของโรงเรียน หลักสูตรมีให้เลือกเรียนมีจำนวนจำกัด เบื่อหน่ายต่อการฝึกซ้อม ขาดสมาธิใน การเรียนและฝึกซ้อม และปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของเครื่องดนตรี และ ทรรศนีย์ ปราบอักษร (2542) ได้ศึกษาการตัดสิน ใจเลือกโรงเรียนดนตรีของผู้ปกครองให้ลูกพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่เลือกโรงเรียนดนตรีให้ลูกเพราะชื่อเสียงของ โรงเรียน รองลงมาได้แก่ชื่อเสียงของครู ทำเลที่ตั้ง และคุณลักษณะของหลักสูตรที่ใช้สอนตามลำดับ

                ปัญหาการศึกษาที่กำลังคุกคามสังคมไทยอยู่ขณะนี้ก็คือคุณภาพการ    ศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาระดับ พื้นฐานพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการทุกวิชารวมทั้งวิชาดนตรีตกหมดทุกวิชา ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงร้อยละ 50 (สมบัติ ธำรงธัญวงค์, 2550) ซึ่งเด็กเหล่านี้กำลังอยู่ในวัยเรียนและพัฒนาตนเองซึ่งมีอยู่ถึง 6 ล้านคน และมีโอกาสได้เรียน ดนตรีเพียง 150,000 คนเท่านั้นและคุณภาพที่ได้ยังด้อยกว่าประเทศในอาเซียนหลายประเทศอีกด้วย (สุกรี เจริญสุข, 2006) ส่วนบรรยากาศการเรียนการสอนในโรงเรียนก็มีปัญหาพอๆกัน เช่นครูไม่เพียงพอในการจัดสอนในอัตราครู 1 คน ต่อนักเรียน 1 คน ซึ่งโรงเรียนของรัฐไม่สามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนเรียนดนตรีทุกคนได้ เพราะโรงเรียนของ รัฐจะมีอัตราส่วนเฉลี่ยนักเรียน 20-40 คนต่อครู 1 คน ถ้านักเรียนเหล่านั้นมาเลือกโปรแกรมการเรียนช้า หรือนักเรียนมี เกินจำนวนก็ไม่สามารถเรียนดนตรีได้ ในขณะที่นักเรียนเหล่านั้นยังมีความสนใจที่จะเรียนดนตรีอยู่ ส่วนในเรื่องของผู้ ปกครองก็ยังมีความล้าสมัยไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงในการสอนดนตรี ทำให้มีช่องว่างระว่างโรงเรียนดนตรีกับผู้ปกครอง ครูไม่สามารถแนะนำในการเรียนดนตรีกับผู้ปกครองได้ เพราะผู้ปกครองมีอำนาจเหนือครูในโรงเรียน ครูผู้สอนจึงสอนได ้แต่ทักษะ ส่วนเรื่องอื่นๆ ครูไม่สามารถสอนได้

                การบริหารการจัดการก็มีปัญหาในโรงเรียนดนตรีเอกชน 15 เนื่องจากผู้บริหารขาดภาวะผู้นำ ขาดความรู้ใน การบริหาร ขาดทักษะในการจัดการ ขาดทักษะในเชิงธุรกิจ ไม่มีการพัฒนาความรู้ให้แก่บุคลากรภายในโรงเรียน (จรวย ธรณินทร์, 2543) ส่วนในเรื่องหลักสูตรและการสอน นักเรียนจะเลือกเรียนเครื่องดนตรีที่ตนเองชอบ มากกว่าการเรียน ทฤษฏ ีดนตรี ทำให้ขาดความรู้ขั้นพื้นฐานทางดนตรี คุณภาพของผู้เรียนต่ำ ผู้เรียนขาดเทคนิคการเล่น ขาดการจิตนาการ และไม่มีโอกาสได้ประเมินตนเอง (ศักดิ์ชัย หิรัญรักษ์, 2547) และภาวะผู้นำของครูผู้สอนก็มีปัญหาบางประการ เช่น ครูผู้สอนไม่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน มีปัญหากับผู้บริหาร มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน มีอัตราการเข้า-ออกสูงทำให้ไม่ ่สามารถ ชื่อมต่อสาระที่ต่อเนื่องได้ และสุดท้ายครูผู้สอนมีความร่วมมือกับผู้ปกครองน้อยทำให้ขาดการสื่อสาร โดยปกติ ิแล้ว ครูกับผู้ปกครองมีการร่วมมือกันค่อนข้างสูงยกเว้นบางกรณีครูมีปัญหากับผู้เรียนซึ่งย่อมจะส่งผลต่อผู้ปกครองด้วย (ฉัตรชัย ผู้ปฏิเวธ, 2546) ปัญหาทั้งหมดนั้น ปัญญา รุ่งเรือง (2546) มีความเห็นว่า การเรียนการสอนดนตรีในประเทศ ไทยในเกือบทุกระดับทั้งในการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนดนตรีของรัฐและในโรงเรียนดนตรีของเอกชนมีความล้ม เหลวโดยสิ้นเชิง

                โดยภาพรวมแล้วโรงเรียนดนตรีเอกชน ปัญหาก็คือคุณภาพหรือประสิทธิผลของสถานศึกษา แต่ก็ยังมี โรงเรียนดนตรีเอกชนจำนวนหนึ่ง ที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพการศึกษาอยู่ระดับสูง เป็นที่นิยมของผู้ปกครองที่ส่งบุตร หลานไปเรียนดนตรีจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีโรงเรียนดนตรีเอกชน อีกจำนวนมากที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำตาม เกณฑ์ มาตรฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและไม่มีการพัฒนา ซึ่งอาจจะมาจากหลายสาเหตุ ดังนั้นจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ผู้มีส่วนได้เสียทางตรงหรือทางอ้อมหรือผู้ปกครอง จะต้องหาทางและมีส่วนร่วม ใน การบริหารพัฒนาโรงเรียนดนตรีเอกชนเหล่านี้ให้มีคุณภาพทัดเทียมกัน ไม่ว่าระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติ

                ผู้เขียนจึงรวบรวมปัญหาสาเหตุของโรงเรียนดนตรีเอกชนไว้หลาย    ประการเพื่อที่จะหาแนวทางแก้ไขใน ขั้นตอนต่อไป ประการแรก ประสิทธิผลของโรงเรียนดนตรีเอกชน และผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนเป็นประเด็นสำคัญในการกำหนด ทิศทางของโรงเรียนดนตรีเอกชนว่า โรงเรียนที่เปิดสอนตรงตามเป้าหมายและจุดประสงค์และจะประสบความสำเร็จใน อนาคตหรือไม่ ประการที่สอง โรงเรียนดนตรีเอกชนในปัจจุบันมีการแข่งขันในทางธุรกิจกันสูง มีการเติบโตกันอย่างรวด เร็ว ทั้งจากผู้ประกอบการและสัมปทานเอกชน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการส่งเสริมผู้เรียนนอกระบบโรงเรียน เป็นแหล่ง ความรู้ทางดนตรีศิลปะและนักแสดงอาชีพในภายภาคหน้า หากหาวิธีจัดการให้มีประสิทธิผล ย่อมส่งผลดีต่อผู้เรียน ครอบครัว คนรอบข้าง และตลอดจนประเทศชาติ ประการที่สาม จากการที่ผู้เขียนได้ค้นคว้าวรรณกรรมทางดนตรี ศึกษา ที่ปรากฏในประเทศ ปรากฏว่ามีอยู่จำนวนน้อย ขาดข้อมูลมาเสริมองค์ความรู้ในการที่จะศึกษาในขั้นต่อไป และประการ สุดท้าย โรงเรียนดนตรีเอกชน มีหลักสูตร การเรียนการสอน การบริหารจัดการ ครูผู้สอน บรรยากาศโรงเรียน รวมถึงตัว ผู้เรียนเองมีเอกลักษณะเฉพาะเหมาะที่จะนำมาศึกษา

หนังสืออ้างอิง

กรมวิชาการ (2544) คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ สาระ ดนตรี. กรุงเทพฯ
        โรงพิมพ์คุรุสภา
กระทรวงธรรมการ ( 2435) พิกัดสำหรับการศึกษาเป็นหลักสูตรในโรงเรียนมูล
        สามัญ. กรุงเทพฯ: ลายมือเขียน
กองบรรณาธิการ (2548) โรงเรียนดนตรีสยามกลการ. Yamaha Music Magazine:
        1(8), 5
คมสันต์ วงค์วรรณ์. (2547). ปัญหาการเรียนการสอนในโรงเรียนดนตรีเอกชนใน
        อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. Retrieved June 23, 2549, from
        http://www.classroom.psu.ac.th/users/wkomson/Private%20school.pdf.
ปัญญา รุ่งเรือง. (2546 ). การแก้จุดแข็ง (กระด้าง) ในสังคมอันเนื่องมาจากดนตรี
        ศึกษา.เพลงดนตรี, 10(1), 47.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์ (2544) พฤติกรรมการสอนดนตรี กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แหง
        จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศักดิ์ชัย หิรัญรักษ์ (2548) ปัญหาการเรียนการสอนเปียโน 7 ปี ไม่เคยเปลี่ยน. เพลง
        ดนตรี, 9(11), 11-16
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ (2539) สถาบันสอนนาฏศิลปะ ดนตรี ตามพระราชบัญญัติแห่ง
        แรกในประเทศไทย. ศิลปกร, 6(39), 54-59
สุวัฒน์ วรดิลก (2532) ชีวิตและงานของครูเอื้อ สุนทรสนาน. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์
        เพื่อชีวิต
สหรัฐ จันทร์เฉลิม. (2002). สาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนดนตรีใน
        ปัจจุบัน. มิวสิค ทอล, 49 (11), 15-16.
จรวย ธรณินทร์. (2543). แนวทางการบริหารงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา
        ลาดพร้าว.
อุดม เพรชสังหาร (2548) กิจกรรมดนตรีเพื่อการพัฒนาเด็ก เพลงดนตรี, 9(11), 26-
        27
Cross, I (2001) Music ,cognition, culture and evaluation. Annals of the New York
        Academy of Sciences. 930, 28-42
Hoy, W.K., & Miskel, C.G. (2001). Educational administration: Theory,
        research, and practice. Singapore: The McGraw-Hill Inc.
Pemberton, C.A. (1992). Lowell Mason and his mission. Music Educator Journal,
        1,49.


view

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ19/09/2007
อัพเดท28/10/2023
ผู้เข้าชม461,531
เปิดเพจ651,189
สินค้าทั้งหมด1

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

view