http://www.musiclandpiano.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

สินค้า

บทความ

 ถาม-ตอบ

หน้าติดต่อเรา

เพลงเด็กหรือเพลงประกอบบทเรียน

เพลงเด็กหรือเพลงประกอบบทเรียน  

โดย ไพบูลย์ บุณยเกียรติ

            เพลงเด็ก คงมีมาตั้งแต่โบราณไม่สามารถหารายละเอียดได้มากนัก ส่วนใหญ่แล้วเรามักรู้จักในเรื่องเพลงกล่อมเด็กกันมากกว่า ในความเป็นจริง ถ้าผู้อ่านอายุเกิน 50 ปี ทุกคนคงจะได้ยินและได้ร้องเพลงนี้กันได้ทุกคนคือ เพลงหน้าที่เด็ก หรือท่านอาจจะจำในนามเพลง เด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่ 10 อย่างด้วยกัน ที่นักเรียนทุกคนจะต้องท่องจำหน้าที่ให้ได้ ซึ่งจุดประสงค์หลักของผู้แต่งเพลงเด็กในสมัยก่อนนั้น คงมีจุดประสงค์ที่ไม่แตกต่างกันก็คือเพื่อใช้ประกอบการสอนให้ผู้เรียนสนุกสนาน และอีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการพัฒนาการได้ยินและความเข้าใจในเรื่องคำศัพท์ต่างๆ ที่เด็กจะต้องเริ่มรู้จักนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อใช้ประกอบจังหวะให้เด็กในการทำกิจกรรมต่างๆ แต่ในต่างประเทศจะพบเห็นเพลงประกอบบทเรียนวิชาดนตรีซึ่งมีอยู่จำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหนังสือดนตรีสำหรับเด็กเล็กหรือหนังสือประกอบบทเรียนเพื่อฝึกปฏิบัติเล่นเครื่องดนตรีส่วนมากที่พบเห็น จะเป็นหนังสือเพื่อฝึกหัดเล่นเปียโน ส่วนในบ้านเราผู้ที่แต่งเพลงสำหรับเด็กหรือเพลงประกอบบทเรียน ซึ่งเป็นที่คุ้นหูคุ้นตากันมากในสมัยนั้น เช่น นายฉันท์ ขำวิไล ครูล้วน ควันธรรม ครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ และมีอีกหลายๆ ท่านที่มิได้เอ่ยนาม ที่สร้างสรรค์บทเพลงเด็กที่ใช้สำหรับประกอบบทเรียน ใช้ประกอบบทละคร และบางท่านก็ทำเป็นเชิงธุรกิจบันเทิง ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในหลายๆ ยุกต์ที่ผ่านมา

           ในเรื่องเนื้อหาแนวคิดของบทเพลงสำหรับเด็ก ส่วนใหญ่แล้ว เพลงเด็กจะเริ่มด้วยของการนักตัวเลข การนับจำนวนต่างๆ ที่เด็กได้ใช้อยู่ทุกๆ วัน การฝึกจำตัวอักษรและพยัญชนะต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การสื่อในเรื่องของสัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ที่ได้เห็นพบอยู่ทุกๆ วัน หรือเป็นบทเพลงที่บรรยายเรื่องของผลไม้ ต้นไม้ หรือธรรมชาติต่างๆที่อยู่รอบตัวนักเรียน ลักษณะบทเพลงที่ใช้สำหรับเด็ก จะต้องมีจังหวะสนุกสนาน ช่วงเสียงไม่กว้างจนเกินไปเพราะเด็กร้องเสียงสูงต่ำได้ไม่มากนัก จำนวนพยางค์ที่ใช้ไม่ยาวมากและยากเกินไป เพลงสามารถให้เด็กได้ใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายในการเคลื่อนไหว การพัฒนาความเจริญเติบโตของร่างกาย เพื่อการออกกำลังกาย และเพลงสำหรับเด็กจำเป็นอย่างยิ่ง ควรได้ใช้ท่าเต้นประกอบอย่างง่ายๆ ทั้งแขน ขา มือ เท้า หัว หรือทุกส่วนของร่างกาย

           ในด้านเนื้อหาของเพลงสำหรับเด็ก จะต้องเป็นการพัฒนาระบบประสาทสัมผัสทั้งหมดของเด็ก ฝึกทักษะความจำเป็นหลัก เพราะเด็กเล็กไม่สามารถอ่าน เขียนได้ เด็กจะมีการรับรู้เพียงบางส่วนเท่านั้น คือการมองเห็น การได้ยินและการจดจำ ต่อไปนี้ผู้เขียน จะนำเพลงเด็กที่ใช้ประกอบบทเรียนมาเป็นตัวอย่าง และให้ข้อคิดเห็นบางส่วนในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ ภายในห้องเรียน ซึ่งกิจกรรมที่นำไปใช้ ครูผู้สอนสามารถสร้างสรรค์กิจกรรมหลากหลายที่ไม่ซ้ำกันได้ เพื่อให้กิจกรรมมีความสอดคล้องกับบทเพลง

            บทเพลงเด็กที่ผู้เขียนจะนำเสนอต่อไปนี้เป็นบทเพลงที่ได้แต่งขึ้น เพื่อใช้สำหรับบทเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ซึ่งบางบทเพลงได้รับรางวัลชมเชย จากสำนักนายกรัฐมนตรีและบางบทเพลงได้รับเพลงชนะเลิศในด้านเนื้อหาในการประกวดเพลงเด็กในระดับเขตการศึกษา

                เพลงที่ 1 เพลงเจ้านกน้อย เพลงนี้เป็นเพลงประกอบบทเรียนเด็กเล็กตั้งแต่ประถม 1- 2 ช่วงเสียงไม่สูงมากอยู่ระหว่างเสียงโด ถึง โด แนวทำนองเพลงง่ายๆ ประกอบด้วยโน้ตเพียง 6 ตัวคือ โด เร มี ฟา ซอล ลา และ โด ซึ่งอยู่ในบันไดเสียง ซี (key C) เพลงนี้ผู้เขียนได้ส่งเข้าประกวดในการประพันธ์เพลงเด็ก จัดโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2528 ผลการประกวดได้รางวัลที่ 4 (ชมเชย) โดยมี ดร.สายสุรี จุติกุล เป็นผู้มอบรางวัล จุดประสงค์หลักของเนื้อหาสาระให้เด็กเล็ก รู้จักสัตว์เลื้ยงและ ให้เด็กรู้จักคำว่าความอิสระและคำว่า เสรี ลองดูเนื้อหาและการสร้างสรรค์กิจเพิ่มเติม ครูผู้สอน สามารถนำไปใช้ประกอบบทเรียนในห้องเรียนทั้งวิชาดนตรี สังคม ภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์และ วิชาศิลปะ หรือดัดแปลงในกิจกรรมเข้าจังหวะอื่นๆ ก็ได้

 

            แหล่งที่มา: ไพบูลย์ บุณยเกียรติ. (2529).พฤติกรรมดนตรีสำหรับเด็ก.สำนักพิมพ์ ท.ว.พ.

 

               เพลงที่ 2 เพลงกวาดบ้าน จุดประสงค์หลักเพื่อให้เด็กได้รู้จักทำกิจกรรมที่บ้านคือการกวาดถูบ้านให้สะอาด เพื่อช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้านได้บางส่วนที่เด็กสามารถทำได้ ซึ่งในการแต่งเพลงนี้ ผู้แต่งใช้โน้ตเพียง 3 ตัวเท่านั้น คือ โด เร มี ซึ่ง มีระดับช่วงกว้างของเสียงน้อยมาก เด็กเล็ก สามารถร้องได้สะดวก ครูผู้สอนสามารถนำบทเพลงนี้ไปใช้สอนได้ทุกวิชา และสามารถสร้างกิจกรรมเพื่อประกอบบทเพลงได้มากมาย.

 

 

 

               เพลงที่ 3 เพลงตบมือกัน เป็นเพลงที่ฝึกเด็กตบมือเพื่อกิจกรรมเข้าจังหวะให้เด็กรู้จักตัวโน้ตเบื้องต้นcจังหวะเบื้องต้น คือให้เด็กรู้จักโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และตัวหยุดเสียงตัวดำ ซึ่งบทเพลงประกอบด้วย 3 จังหวะต่อหนึ่งห้อง ถ้าคุณครูฝึกเด็กร้องเพลงบทเพลงนี้ คุณครูอาจจะจัดกลุ่มนักเรียนเป็น 2 กลุ่มแล้วทำกิจกรรมเข้าจังหวะ เช่นตบมือ ตบไหล่ กระทืบเท้า หรือตบมือข้ามกลุ่มและหัดร้องเพลงนี้กับกิจกรรมที่ทำก็ได้

 

แหล่งที่มา: ไพบูลย์ บุณยเกียรติ. (2529).พฤติกรรมดนตรีสำหรับเด็ก.สำนักพิมพ์ ท.ว.พ.

           บทเพลงที่ 4 เพลงนาฬิกา เป็นบทเพลงที่ให้เด็กเล็กได้รู้จักของใช้ที่จำเป็นประจำวัน นั้นคือ นาฬิกาบอกเวลา เพราะในการเรียนในแต่ละวัน เด็กเล็กจะต้องรู้ว่า ในแต่ละวันจะต้องทำอะไรบ้าง และต้องจะต้องกลับบ้านเวลาใด บทเพลงนี้ต้องการสื่อให้เด็กรู้จักเวลา และหน้าที่สำคัญของนาฬิกา คือการบอกเวลา ครูผู้สอนสามารถทำกิจกรรมต่างได้มากมายในบทเพลงนี้

 

            แหล่งที่มา: ไพบูลย์ บุณยเกียรติ. (2529).พฤติกรรมดนตรีสำหรับเด็ก.สำนักพิมพ์ ท.ว.พ.

                บทเพลงที่ 5 ลูกแมวเหมี่ยว เป็นเพลงประกอบบทเรียนสำหรับเด็กเล็ก มีจุดมุ่งหมายใหญ่ให้เด็กได้รู้จักสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน นั้นคือแมว บ้านของคนไทยส่วนใหญ่เลี้ยงแมวกันทุกบ้าน บทเพลงนี้ต้องสื่อและสอนเด็กให้รู้จักคุณลักษณะของแมวเหมี่ยว อิริยาบถ และคุณลักษณะต่างๆ ของแมว บทเพลงในทางทฤษฏีดนตรี จะเริ่มฝึกนักเรียนให้รู้จักขั้นบันไดเสียง คือการไล่ขั้นบันไดเสียง เสียงต่ำ ตั้งแต่ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เป็นบันไดเสียงขาขึ้น และมีการฝึกให้นักเรียนไล่ขั้นบันไดเสียงขาลงจาก โด ที ลา ซอล ฟา มี เร โด กิจกรรมสร้างสรรค์ สำหรับคุณครูที่สร้างกิจกรรมกับบทเพลงบทนี้ สามารถสร้างสรรค์ได้มากมาย โดยอาจแบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่ 1 ร้องเพลงบทเพลงนี้ ส่วนเด็กกลุ่มที่ 2 แสดงละครในอิริยาบถลักษณะต่างๆ ของแมว โดยให้เด็กแสดงความคิดเห็นและสร้างสรรค์ได้ทุกคน และครูสามารถเปลี่ยนให้เด็กอีกกลุ่มที่ 2 ที่ร้องเพลง กลับมาเต้นหรือแสดงละครในอิริยาบถต่างๆ ของแมวก็ได้

 

            แหล่งที่มา: ไพบูลย์ บุณยเกียรติ. (2529).พฤติกรรมดนตรีสำหรับเด็ก.สำนักพิมพ์ ท.ว.พ.

บทเพลงที่ 6 ขอเป็นเพื่อน เป็นบทเพลงที่ให้เด็กรู้จักกิจกรรมประจำวันที่ทุกคนต้องทำอยู่ทุกวัน คือการสวัสดี ซึ่งเด็กทุกคน จะต้องกล่าวคำว่าสวัสดีตั้งแต่ตื่นเช้ากับพ่อแม่ ขณะอยู่ในบริเวณโรงเรียนกับคุณครู อยู่กับเพื่อนฝูง และเวลานักเรียนจะกลับบ้านหลังจากจบการเรียนในแต่ละวัน บทเพลงนี้ ใช้โน้ตตัวดำ และโน้ตเขบ็ต 1ชั้น 2 พยางค์ ช่วงเสียงต่ำสุด คือโน้ต ที  และโน้ตสูงสุดคือ โน้ตตัว โด ส่วนการสร้างสรรค์ทำกิจกรรม คุณครูสามารถทำกิจกรรมได้มากมายในบทเพลงนี้

 

        บทเพลงที่ 7  กระต่ายน้อย เป็นบทเพลงที่มีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รู้จักสัตว์เลี้ยงรอบตัว คือตัวกระต่าย โดยทั่วไปเด็กจะเห็นกระต่ายกันบ่อยๆ บทเพลงจะให้เด็กได้รู้จักคุณลักษณะของกระต่ายว่ามีลักษณะอย่างไร ซึ่งกระต่ายส่วนใหญ่ เป็นสัตว์เลี้ยง ที่เด็กเล็กๆ มีความชื่นชอบเป็นพิเศษ และลักษณะของบทเพลงกระต่ายน้อยบทเพลงนี้ จะใช้โน้ต เพียง 2 พยางค์ ห้องละสองจังหวะ มีโน้ตเพียง 3 ตัวคือ โน้ต ตัวขาว ตัวดำ และเขบ็ตชั้นเดียว คุณครูสามารถสร้างสรรค์กิจกรรมประกอบบทเรียนได้มากมาย และสามารถนำไปใช้ประกอบบทเรียนวิชาอื่นๆ ได้อีกด้วย

 

                    ผู้แต่ง: ไพบูลย์ บุณยเกียรติ ประมาณปี พ.ศ. 2530

         บทเพลงที่ 8 คุณค่าแห่งความดี บทเพลงนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รู้จักคำว่าการทำความดี ซึ่งผลของการทำความดีนั้น จะตอบแทนได้ในภายหลังและจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครสามารถช่วยทำให้เกิดขึ้นเองได้โดยวิธีต่างๆ ถ้านักเรียนไม่เริ่มทำความดีด้วยตนเอง และผู้อื่นรวมถึงพ่อแม่ก็ไม่มีใครสามารถทำแทนกันได้ ซึ่งผลของความดีจะตอบสนองกับคนที่ทำความดีด้วยตนเองเท่านั้น บทเพลงนี้มีลักษณะของนามธรรม แต่ส่วนใหญ่แล้วโรงเรียน บ้าน มีการสอนและให้คำจัดกัดความของคำว่า ความดีไว้ในทุกๆ วิชา เป็นเรื่องที่เด็กๆ สามารถเข้าใจได้ บทเพลงนี้ประกอบด้วยด้วยโน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว และตัวหยุดตัวดำ คุณครูที่ทำกิจกรรมสามารถทำเป็นบทละครประกอบรีวิวเพลงประกอบได้ หรือทำการขับร้องประสานเสียงโดยให้นักเรียนเป็นผู้ Conductor

 

      บทเพลงที่ 9 เพลงแมงมุมลาย บทเพลงเด็กเพลงนี้ ไม่ทราบผู้แต่ง แต่เป็นบทเพลงที่มีการร้องกันในชั้นเรียนกันเป็นเวลานาน คุณครูสามารถคิดทำกิจกรรมกับบทเพลงบทนี้ได้มากมาย และเป็นที่สนุกสนานกันมาก จุดประสงค์ของบทเพลงนี้ เพื่อให้เด็กรู้จักสัตว์ที่อยู่ภายในบ้าน ใกล้บ้านหรือเห็นโดยทั่วไปตามต้นไม้เล็ก ใหญ่ เนื้อร้องของเพลงจะเป็นการอธิบายถึงคุณลักษณะของแมงมุม และลักษณะความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของมัน ตัวโน้ตประกอบด้วย ตัวดำและ ตัวเขบ็ต 1 ชั้น และตัวหยุดตัวเขบ็ต 1 ชั้น ช่วงความกว้างของเสียงประกอบด้วยเสียงต่ำสุด คือโน้ต ตัวโด และสูงสุดคือโน้ต ตัวซอล

       

 

                     เพลงแมงมุมลาย ไม่ทราบผู้แต่ง และความเป็นมาแต่มีการพิมพ์เพลงนี้ในหนังสือวันเด็กประมาณปี พ.ศ. 2506

        บทเพลงที่ 10 เพลงปลูกข้าว บทเพลงนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กได้รู้จักกระบวนการปลูกข้าว ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนไทย ที่คนไทยทุกคนกินข้าวเป็นอาหารหลัก เนื้อหาสาระของบทเพลงเป็นการบรรยายให้เห็นถึงกระบวนการปลูกข้าว มีขั้นตอนต่างๆ มากมายก่อนที่จะเป็นรวงข้าวสีทองเพื่อนำไปรับประทานได้ บทเพลง มีทำทำนองสนุกสนาน ใช้ตัวโน้ตเพียง 2 พยางค์ คือใช้โน้ตตัวดำ และเขบ็ตชั้นเดียว ช่วงกว้างของเสียงแคบๆ เริ่มด้วยโน้ตตัวโด ต่ำสุด และสูงสุดคือตัวโน้ตตัว เร คุณครูสามารถสร้างสรรค์กิจกรรมกับบทเพลงนี้ได้มากมาย เพราะเพลงมีจังหวะสนุกสนาน เหมาะที่นักเรียนทำกิจกรรมต่างเกี่ยวกับการปลูกข้าว การเกี่ยวข้าว หรือการเต้นระบำการทำนาทั้งนาว่านหรือนาปลูก การไถคราด การนวดข้าว การตีข้าว หรือการตำข้าวก็ได้

 

                        เพลงที่ 11 เพลงบัวใต้น้ำ บทเพลงนี้ได้รับรางวัลบทประพันธ์และเนื้อหายอดเยี่ยมในการประกวดเพลงระดับเด็กประถมในเขตการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้เขียนจำไม่ได้เพราะไม่ได้ส่งเข้าประกวดเองมีคุณครูท่านหนึ่งที่รู้จักได้นำบทเพลงนี้เข้าประกวดประมาณปี พ.ศ. 2531 ส่วนเอกสารที่ได้มาไม่สามารถหาต้นต่อได้เพราะได้ศูนย์หายไปเกือบหมดในการย้ายบ้าน และย้ายที่ทำงาน ถ้าท่านอาจารย์ที่นำผลงานนี้ส่งประกวดได้อ่านเจอบทความนี้กรุณาส่งข่าวมาเล่าถึงความเป็นมาจะขอบพระคุณอย่างสูง

              บทเพลงบัวใต้น้ำเป็นการเปรียบเทียบถึงควสฃยากลำบากของดอกบัวที่เป็นดอกบัวทีชูช่อในกลางน้ำในแต่ละวันนั้นมีความลำบากมากมายซึ่งได้เปรียนบเทียบกับการทำความดีซึ่งเป็นการยากที่ใครจะได้เห็น ส่วนใญ่แล้ว ฮีโร่ ที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่แล้วตัวเองจากไปจากโลกหลายปีแล้วมนุษย์จึงจะเห็นความดีที่ท่านเหล่านี้ได้สร้างความดีหรือผลงานเอาไว้ คุณครูสามารถทำกิจกรรมกับบทเพลงนี้ได้มากมาย เช่นการเล่นประกอบบทเพลง หรือกิจกรรมการแสดงต่างๆ การเล่าประวัติของบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่นักเรียนประทับใจหรือคนสำคัญที่สร้างชื่อดเสียงที่อยู่รอบตัวหรือใกล้ตัวนักเรียน คุณลองฝึกร้องและทำกิจกรรมเพลงบัวใต้น้ำดู

 

             

        เพลงอันดับต่อไปเป็นเพลงที่ใช้ประกอบบทเรียนได้ในทุกววิชา คุณครูสามารถคัดเลือกเพลงในแต่ละเพลง ทำกิจกรรมเสริมบทเรียน ซึ่งมีอยู่หลายๆ เพลงขอให้คุณครูลองฝึกร้องและสร้างสรรค์กิจกรรมดูและไม่ยากจนเกิน ดังตัวอย่างบทเพลงต่อไปนี้

            

 

 

 

 

     

ผู้แต่งบทเพลง: ดร. ไพบูลย์ บุณยเกียรติ เป็นอาจารย์สอนดนตรีอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอยุธยา จนถึงปี พ.ศ. 2525 และได้หันกลับไปทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องดนตรีกับประเทศรัสเชียและประเทศญี่ปุ่น การศึกษา จบ ค.บ. M.Ed. (Music education), Ph.D. ทางการบริหารและพัฒนา, Cert. piano technician จากประเทศสหภาพโซเวียต และได้รับ Diploma จาก School of Piano Tuning จากประเทศสหรัฐอเมริกา   

view

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ19/09/2007
อัพเดท28/10/2023
ผู้เข้าชม461,623
เปิดเพจ651,283
สินค้าทั้งหมด1

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

ติดต่อเรา

view